วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

สาเหตุทางด้านจิตใจ



สาเหตุทางด้านจิตใจ
 




ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นทำให้นอนไม่หลับได้บ่อยมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัว การงาน หรือครอบครัว หลายครั้งที่การได้รับการช่วยเหลือ โดยคำปรึกษาแนะนำให้รู้จัก และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา จะช่วยทำให้ปรับตัวกับปัญหาได้ดีขึ้น
แนวโน้มของแต่ละบุคคล บางคนมีแนวโน้มง่ายมากที่จะนอนไม่หลับ เช่น ชอบคิดมากคิดเล็กคิดน้อย หรือร่างกายไวหรือตื่นตัวต่อสิ่งแวดล้อมได้เร็ว เช่น ได้ยินเสียงอะไรเล็กน้อยก็จะรู้สึกตัวตื่นอยู่เรื่อยๆ
2.ปัญหาทางจิตเวช
โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับโดยเฉพาะหลับแล้วตื่นขึ้นมากลางดึกแล้วหลับต่อยาก เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อยในคนที่มีภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งอาการอื่นๆ ของโรคซึมเศร้าก็จะประกอบไปด้วย ความรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง พร้อมๆ กับใจคอที่หดหู่ เศร้า ไม่เบิกบาน ไม่สดชื่นเหมือนเมื่อก่อน ความคิดช้า ความจำไม่ค่อยดี ใจจดใจจ่ออะไรนานๆ ไม่ได้ มักมีเบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย โดยปกติแล้วการรักษาที่สาเหตุของภาวะเหล่านี้ จะช่วยทำให้การนอนหลับกลับมาเป็นปกติอย่างเดิมได้

โรควิตกกังวลชนิด somatized tension พบได้บ่อยที่เป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ ผู้ป่วยมักพบว่าอาการนอนไม่เป็นอาการเด่นเป็นอาการเดียว ในขณะที่ผู้ป่วยโรควิตกกังวลโดยทั่วไปมักจะมีอาการหลายชนิดมาปรึกษาแพทย์
3.รูปแบบการใช้ชีวิต
การใช้สารกระตุ้นสมอง ปัจจุบันพบว่าเป็นปัญหามากขึ้น เนื่องจากสารเสพติดหลายชนิดมีฤทธิ์กระตุ้นสมอง โดยความไวของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้ ขึ้นกับโปรตีนตัวรับในสมอง

กาแฟที่มีคาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นสมอง ทำให้มีผลต่อการนอนหลับ โดยพบว่าจะหลับได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการดื่มกาแฟใกล้เวลาเข้านอน ผลดังกล่าวเกิดขึ้นได้แม้จะเป็นกาแฟที่สกัดคาเฟอีนก็ตาม
สารนิโคตินในบุหรี่จะออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่บ่อยมักมีปัญหาหลับได้ยากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
อ้างอิง
Zybernia . 2556 สาเหตุทางด้านจิตใจ [ออนไลน์] เข้าถึง http://zybernia.wordpress.com/2009/07/05/sleepless-2สืบค้น/เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2556.

ผู้จัดทำ นาย ธราเทพ โกจิ๋ว  ม.6/3 เลขที่7


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น