วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ความกลัวความล้มเหลว

นิตยสาร  Secret ได้ลงบทความเรื่อง ความกลัวความล้มเหลว ว่า
                 ความกลัวความล้มเหลว
ดร.นานโด เปลูซี อธิบายว่า ก่อนที่ใครสักคนจะประสบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องทุ่มเทมากกว่าปกติ และมักมองทางเลือกไว้เพียงสองทาง คือ " ทุ่มสุดตัว " หรือ " ไม่ต้องทำอะไรเลย " ซึ่งการตัดสินใจทุ่มสุดตัวโดยไม่มีสิ่งใดรับประกันผลของการทุ่มเท มักทำให้เกิดความกังวลและความเครียดสะสม ส่วนใหญ่แล้ว ความกลัวว่าสิ่งที่ได้รับอาจไม่คุ้มค่าหรือกลัวว่าจะล้มเหลวเป็นฝ่ายชนะ คนเราจึงมักจะเลือกทางที่ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะรู้สึกว่าทำไปก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น
  นิวรณ์ 5 ต้นตอของความขี้เกียจ
ใน เชิงพุทธศาสนา ต้นเหตุของความขี้เกียจคือนิวรณ์ 5 ซึ่งหมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตไม่ให้มีสมาธิ ทำให้ไม่สามารถทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จได้ อันได้แก่
1. กามฉันทะ คือ ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2. พยาบาท คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ความขัดเคืองใจ
3. ถีนมิทธะ แยกได้เป็น ถีนะ คือ ความหดหู่ ท้อถอย และ มิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน
4. อุทธัจกุกกุจจะ แยกได้เป็น อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน และ กุกกุจจะ คือ ความรำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเล สงสัย ไม่แน่ใจ
เพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานด้วยหลักอิทธิบาท 4
อิทธิ บาท 4 คือธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ เราสามารถนำหลักธรรมแต่ละข้อมาปรับใช้ให้เข้ากับนิสัยของตัวเอง เพื่อช่วยรวบรวมสมาธิและขจัดความขี้เกียจได้
1.ฉันทะ หมายถึง ความรักในงาน รักในจุดมุ่งหมายของงาน มีความพอใจในสิ่งที่มีที่ทำ
2.วิริยะ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ไม่ล้มเลิกก่อนทำสำเร็จ
3.จิตตะ หมายถึง ความมีใจจดจ่อ เอาใจใส่กับการทำงานเสมอ
4.วิมังสา หมายถึง ความสอดส่องในเหตุและผลและเกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ
อ้างอิง

                พัฒนกิจ ดอทคอม.2556.ความต้องการความสุขสบาย. [ออนไลน์] เข้าถึง www.pattanakit.net สืบค้นเมื่อ       14 มิถุนายน 2556.

นายภาณุพงศ์  วิชชุตเวส เลขที่ 2 ม.6/3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น