วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

Ctg   ปัญหายาเสพติดในสังคมไทย



.การระบาดของยาเสพติดที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยเราขณะนี้เป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่า จะไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ การปราบปรามอย่างรุนแรงทั้งด้วยปืนของตำรวจและด้วยปาก ของนักการเมือง ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติดที่แทรกแซง เข้าไปยัง ประชากรทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัยได้เลย ปริมาณยาเสพติดที่ยึดได้หากนำมารวมกันทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน น่าจะนำไปใช้ ถมที่ดินเพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งที่สอง เป็นการประหยัดทรายได้มิใช่น้อย
ปัญหายาเสพติดมิใช่ปัญหาของบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลก ต่างกันแต่เพียงระดับความรุนแรงและประเภทของยาเสพติดเท่านั้น
การแก้ปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องเข้าใจสาเหตุ และกลไกการเกิดปัญหา เพื่อที่จะได้ หาทางแก้ไขได้ครบวงจร มิใช่ไปเน้นที่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น

ปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน มีความเกี่ยวข้องทั้งด้านชีววิทยา, สุขภาพจิต, อาชญากรรม, การเมือง, เศรษฐกิจและสังคม

1. ความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด
สารใดก็ตามที่มีฤทธิ์แบบนี้ต่อผู้เสพ ย่อมทำให้เกิดการเสพติดได้ทั้งสิ้น คนที่ดื่มเหล้าก็ต้องการให้เกิดอารมณ์ครื้นเครง (euphoria) ยาเสพติดชนิดร้ายแรงสามารถทำให้เกิด ความรู้สึกเป็นสุข เคลิบเคลิ้มมากกว่าปกติ ที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า "high" หรือพวกติดยาเสพติดในบ้านเราเรียกว่า "พี้" ในบรรดาสารเสพติดทั้งหลาย เฮโรอีนเป็นสารที่ทำให้เกิดฤทธิ์แบบนี้มากที่สุด เพราะเป็นสารที่ร้ายแรงที่สุดในกลุ่มสารที่ทำจากฝิ่น ในทางการแพทย์มีที่ใช้บ้างคือ ใช้มอร์ฟีนเป็นยาแก้ปวด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง เช่น หลังผ่าตัดหรืออาการปวดจากมะเร็งในระยะท้าย ๆ

ประสบการณ์ของผู้ติดยาเสพติดทั้งหลายต่างยอมรับว่า เฮโรอีน ให้ผลอันพึงประสงค์ ต่อผู้เสพ ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเฮโรอีนเกล็ดขาวบริสุทธิ์ที่มีขายในบ้านเรา แต่ในปัจจุบันนี้ ราคาสูงมาก จนทำให้ผู้เสพหันไปใช้สารอื่นที่มีราคาถูกกว่า เช่น สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งแอมเฟตามีนเป็นตัวที่ขายดีที่สุด สารพวกนี้มีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่า และอาการถอนยาไม่รุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด ทำให้ผู้ติดยาทั้งหลายไขว่คว้าหามาเสพ ไม่ว่าจะต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม และก็มิใช่ว่าจะไม่รู้โทษภัยของมัน แม้ว่าจะตั้งชื่อใหม่ว่า "ยาบ้า" หรือ "ยานรก" ก็ตามที เปรียบดังคนที่มัวเมาหลงใหลในกามรส เกิดอาการหน้ามืด จนไม่กลัวเอดส์ อย่างนั้น



ปัญหายาเสพติดในสังคมไทย

 ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมื่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวันหรือวันละหลาย ๆ ครั้ง ลักษณะสำคัญของสารเสพติดจะทำให้เกิดอาการและอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้

          1. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น

          2. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้

          3. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา

          4. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ประเภทของยาเสพติด

จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท

          1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา 
ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง 
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย

          2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น

          3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต

          4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

 สาเหตุของปัญหาการใช้สารเสพติดมีอยู่ 3 ปัจจัย คือ

1. สารเสพติด

  โดยตัวของสารเสพติดจะมีฤทธิ์ที่กระตุ้นให้คนอยากกลับไปใช้ใหม่อีกเรื่อยๆซึ่งเป็นฤทธิ์ต่อสมองและจิตใจทำให้เกิด  ความยากใช้สารเสพติด โดยสารเสพติดจะไปกระตุ้นสมองบางส่วนทำให้เกิดความพอใจ และนำไปสู่ความยากใช้ สารเสพติดในแต่ละตัวจะออกฤทธิ์ในสมองแต่ละส่วนที่ต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว สารเสพติดทั้งหมดจะไปกระตุ้นในส่วนที่เรียกว่า Brain Reward System ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมความพอใจ อยากจะทำ อยากจะใช้อยู่เรื่อยๆ

2. ผู้เสพ

เกิดความสงสัย อยากลอง ซึ่งพบในกลุ่มเด็กและเยาวชนผู้มีอายุน้อยมีความกระตือรือร้นอยากท้าทาย อยากทดลอง

ทัศนคติที่มีต่อสารเสพติด ถ้ามองว่าเป็นสิ่งที่เลว ก็จะไม่อยากลอง แต่ถ้ามีทัศนคติที่ไม่น่ากลัว ก็อาจจะทำให้อยากลองยา

ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด หากผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดที่ดี ก็จะมองยาในทางลบและไม่คิดที่จะลองเสพยาเสพติด

3. สิ่งแวดล้อม

ความหายาก หาง่าย ภายในสภาพแวดล้อม ถ้าหายาได้ง่ายก็จะทำให้เกิดการลองใช้ยาได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันถ้าไม่สามารถหายาได้หรือหายายากก็จะทำให้ไม่มีโอกาสในการทดลองยา

ราคาของที่ถูกหรือแพง ก็จะทำให้เกิดโอกาสในการทดลองยาใช้ยา ที่แตกต่างกันในกรณีของยาที่ราคาถูกก็จะทำให้มีความสามารถในการซื้อหามาลองได้

กลุ่มหรือเพื่อน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเสพยา ถ้าอยู่ในกลุ่มที่ใช้ยาก็จะเกิดการชักชวนให้ทดลอง หรือในบางกรณี วัยรุ่นมักจะมีความรู้สึกว่าถ้าจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้จะต้องเหมือนๆ กับกลุ่ม

วัฒนธรรม หรือศาสนา เช่น ประเทศในตะวันออกกลางนับถือศาสนาอิสลามที่มีข้อบังคับ ห้ามดื่มสุรา จึงต้องหันมาใช้ยาเสพติดชนิดอื่น เช่น ฝิ่น หรือบนดอยมีการปลูกฝิ่นกันอย่างแพร่หลาย และมีประเพณีการใช้กันมานานจนรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา จึงมีการใช้ฝิ่นมาตลอด

 ผลกระทบของปัญหาที่มีต่อสังคม

1.ผลกระทบต่อตัวบุคคล

           1. ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ 50 นอกจากนี้ตัวยาบางตัว เช่น แอมเฟตามีน หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ

          2. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทางการเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ

          3. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

2. ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม

         1. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา

         2. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดหรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติทางจิต

         3. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ

         4. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัวได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ

3. ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ

         1. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ และการคุมประพฤติ นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า

         2. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต คอรัปชั่น โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

4. ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ

         1. การผลิตและการค้ายาเสพติด จัดเป็นกลุ่มธุรกิจ และเศรษฐกิจนอกกฎหมายที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิต แม้ว่าการค้ายาเสพติดบางส่วนจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้เมื่อมีการค้าขาย แต่ก็เป็นรายได้สำหรับคนบางกลุ่มที่กระทำผิดกฎหมายและเอารัดเอาเปรียบสังคม

         2. ธุรกิจการค้ายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดการสูญเสียเงินตราแก่กลุ่มผู้ผลิตที่อยู่ภายนอกประเทศจำนวนมหาศาลซึ่งจากการศึกษาวิจัยศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจการเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2540 พบว่าเศรษฐกิจการค้ายาเสพติดมีมูลค่าระหว่าง 28,000-33,000 ล้านบาท

         3. ปัญหายาเสพติดทำให้รัฐบาลต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนมาก เพื่อใช้ในการป้องกัน ปราบปราม บำบัดรักษาและฟื้นฟู แทนที่จะนำไปใช้ในการด้านอื่นๆ ที่มีความจำเป็น เช่น การศึกษา การช่วยเหลือผู้ด้วยโอกาส ฯลฯ

         4. ปัญหายาเสพติดส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ เพราะทำให้ภาครัฐ ภาคเอกชนต้องสูญเสียทรัพยากรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยไม่จำเป็น รวมทั้งกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ เพราะยาเสพติดมีส่วนทำลายพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมองของเด็กและเยาวชน และแรงงานที่จะเป็นพลังของประเทศไทยในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเศรษฐกิจใหม่ที่ต้องการความรู้และพลังปัญญาเป็นฐานในการพัฒนา

5. ผลกระทบต่อความมั่นคงและชื่อเสียงของประเทศ

        1. ผลสำรวจของสำนักวิจัยเอแบค ระหว่าง 1-4 พฤศจิกายน 2542 พบว่าประชาชนร้อยละ 31.7 เห็นว่ายาเสพติดเป็นปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศโดยมีความสำคัญเป็นอันดับ 2 รองจากปัญหาการลักลอบเข้าเมืองของชาวต่างชาติ สาเหตุเนื่องจากปัญหายาเสพติดได้ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งผลิตยาเสพติด

         2. การแพร่ระบาดของยาเสพติด จะก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศไทยไม่เป็นที่ไว้วางใจของนานาชาติในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยวหรือลงทุนทางการค้า และธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ประเทศคู่แข่งฉวยโอกาสในการโจมตีประเทศไทย

หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา

1. สถาบันครอบครัว

2. สถาบันชุมชน

3.โรงเรียน

4.สถาบันศาสนา

 แนวทางการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

1.สถาบันครอบครัว

                สถาบันครอบครัวถือเป็นสถาบันแรก ที่มีบทบาทหน้าที่ในการป้องกันปัญหายาเสพติดโดยตรง ทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย พ่อแม่ คือ บุคคลสำคัญในการอบรม เลี้ยงดู สั่งสอนลูก นอกจากนี้ยังจะต้องประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ถูกต้องให้กับบุตรหลาน การอบรมเลี้ยงดูเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์รู้กฎเกณฑ์ทางสังคม โดยผ่านทางผู้ให้การอบรม (พ่อ แม่) ทำให้คนคนนั้นเกิดการเรียนรู้และเกิดการประพฤติปฏิบัติตาม กระบวนการอบรมเลี้ยงดูจะอบรมกล่อมเกลาเด็กตั้งแต่เกิด โดยบุคคลที่อยู่แวดล้อม เช่น พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง เป็นต้น ทำให้เด็กได้รู้สึก ได้เข้าใจ ได้รู้สิ่งดีไม่ดี สิ่งใดควรทำไม่ควรทำ จนทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ เช่น เรียบร้อย เกเร มีมารยาท ไม่มีมารยาท ไปจนถึงลักษณะซื่อสัตย์ คดโกง มีเมตตา หรือโหดร้าย

                  ดังนั้นสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะพ่อ แม่ เป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดู ให้ความรู้สิ่งไหนดีไม่ดี สิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ จะต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับลูก รวมถึงการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูก เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำที่ถูกต้อง สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัวไม่สร้างปัญหาให้กับครอบครัว อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวานิช เคยกล่าวในที่ประชุมสัมมนา เรื่อง บทบาทของเพศที่ 3 ว่า ทำครอบครัวให้ร่มเย็นเด็กจึงอยากจะอยู่บ้าน ถ้าหากครอบครัวมีแต่ความร้อนรุ่มเด็กก็ไม่อยากจะอยู่บ้าน

2.สถาบันชุมชน

                  สถาบันชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กถัดจากสถาบันครอบครัว ชุมชนจึงมีส่วนสำคัญในการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะชุมชนที่มีขนาดเล็ก คนในชุมชนจะต้องช่วยกันอบรมสั่งสอน ปลูกฝังค่านิยม อุดมการณ์ คุณธรรมที่ดีงามและเหมาะสม ช่วยกันสอดส่องดูแลเด็กและเยาวชนในชุมชนโดยเปรียบเสมือนเป็นลูกหลานของตนเอง ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี คนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดี คนในชุมชนประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน เด็กและเยาวชนย่อมเจริญเติบโต และเรียนรู้แต่สิ่งดีๆ จากชุมชน

3.โรงเรียน

                 โรงเรียนเป็นอีกสถาบันหนึ่ง ที่จะต้องทำหน้าที่เชื่อมต่อจากสถาบันครอบครัว โรงเรียนเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนที่กว้างกว่าครอบครัว และเป็นสถาบันที่เด็กต้องใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนานมาก และอยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้ การเลียนแบบ การจดจำ เป็นต้น ดังนั้นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ซึ่งได้แก่ ครู จะต้องทำหน้าที่ในการถ่ายทอด การอบรม สั่งสอน รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก

ชีวิตส่วนใหญ่ของเด็กในปัจจุบันจะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนนานกว่าในอดีต เด็กมีโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งที่ดีและไม่ดีจากโรงเรียนมากมาย ดังนั้นสถาบันโรงเรียนจึงจะต้องมีบทบาทและหน้าที่มากกว่าในอดีต นอกจากจะทำหน้าที่ถ่ายทอดให้ความรู้แล้ว สถาบันโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เหมือนสถาบันครอบครัวแห่งที่ 2 ซึ่งจะต้องคอยทำหน้าที่ปลูกฝังค่านิยมที่ดี ให้ความอบอุ่น ให้คำปรึกษาที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชนของชาติ

4.สถาบันศาสนา

                 ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวของคนในชุมชน มายาวนานตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สถาบันศาสนาเป็นแหล่งที่สร้างและค้ำจุนคุณธรรมความดีงาม สั่งสอนให้สอนให้คนเป็นคนดี ไม่ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่เสื่อมเสียศีลธรรมอันดีงาม ทั้งตัวแทนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดศาสนายังเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนในชุมชน  สถาบันศาสนา เป็นสถาบันอีกสถาบันหนึ่งที่เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน คนในชุมชนจะให้ความเกรงใจเป็นพิเศษ และคนในชุมชนยังยึดถือแบบอย่างที่ดีงามของสถาบันศาสนาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิต

  นายภูริวัฒน์ สามพันพวง  ม.6/5 เลขที่ 15


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น