วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเข้ากับเพื่อน

Rcpsycht.org
วิธีแก้ปัญหา
         1. ต้องเข้าใจ การเลี้ยงเด็กเล็กกว่าเป็นงานที่ยากในความสามารถของพี่หลายคน มิใช่ว่าจะทำได้ดีเท่าผู้ใหญ่ ถ้าจะเริ่มก็ควรเริ่มให้ช่วยดูแลตั้งแต่เล็กมาเลย ยังต้องการกำลังใจและการชี้แนะจากพ่อแม่ภายใต้เวลาที่เหมาะสม การฝึกสอนต้องผ่อนปรนเพราะบางครั้งวัยรุ่นเขาไม่อยากทำบ้างก็ต้องยอม แต่บางครั้งก็ต้องให้ดูแลน้องบ้างทั้งที่ไม่อยากทำก็ตาม โดยแบ่งเวลาให้รับผิดชอบตามความสามารถ เท่ากับฝึกให้ช่วยเหลือคนอื่นไปในตัว
         ถึงแม้ว่าจะเคยเลี้ยงน้องมาก่อน แต่วัยรุ่นเองก็ต้องมีเวลาอิสระเป็นตัวของตัวเองในการพัฒนาตนเองในด้านอื่นๆด้วย อาจเบื่อหรือไม่อยากทำบ้างก็ต้องเข้าใจ
         2. พัฒนาเทคนิค การจู้จี้ บ่น ดุ ว่า หรือเรียกร้องความสมบูรณ์แบบมากเกินไป จะทำให้ทุกคนเบื่อและไม่อยากเข้ามาช่วยเหลือในการดูแลเด็กเล็กซึ่งเป็นงานที่ไม่น่าสนใจในสายตาวัยรุ่นอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าเขายังทำได้ไม่ดีนัก แต่ต้องชื่นชมในส่วนที่เขาทำได้ อะไรที่บกพร่องหรือผิดพลาดก็ค่อยๆบอกกล่าวโดยไม่ใช้อารมณ์ ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือ การกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการดูและน้องจะทำให้วัยรุ่นมองเห็นขอบเขตของงานที่ได้รับมอบหมายชัดเจนขึ้น
         3. ทักษะการเล่น การฝึกฝนให้พี่น้องเล่นด้วยกัน โดยอาศัยพ่อแม่เป็นตัวกลางจะช่วยทำให้เด็กต่างวัยใช้เวลาสนุกสนานร่วมกันได้ แต่ต้องเข้าใจว่าในการเล่นกับคนที่เด็กกว่า ความสามารถด้อยกว่า พูดคุยกันก็ไม่ค่อยจะเข้าใจกันนัก แถมอีกคนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจกติกาเท่าไร ไม่ใช่เป็นการเล่นที่สนุกสำหรับวัยรุ่นเลย แต่ก็ยังพอฝีนทนทำได้ถ้าพ่อแม่มองเห็นความอดทนและเข้าใจ เช่น การเล่นกีฬา ร้องเพลง
         4. เวลาเพื่อวัยรุ่น ต้องยอมรับว่า เวลาที่พ่อแม่มีให้วัยรุ่นนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับการให้เวลากับลูกวัยอื่น และถ้าเวลาที่มีอยู่ด้วยกันไม่มีคุณภาพ เช่น ต่างคนต่างอยู่ หรือใช้ไปกับการบ่น ดุ ว่า สั่งสอน จะยิ่งทำให้สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่กับวัยรุ่นแย่ลง เมื่อจะใช้ให้ทำอะไรวัยรุ่นก็ย่อมไม่อยากทำให้ ขณะเดียวกันวัยรุ่นก็ต้องการเวลาจากพ่อแม่ในการฝึกฝนให้เกิดความสามารถตามวัยที่เขาควรจะได้รับเช่นกันโดย ทำกิจกรรมร่วมกัน และเมื่อสัมพันธภาพที่มีดีต่อกัน การที่พ่อแม่ขอร้องให้ช่วยดูแลน้องบ้างเขาก็จะยอมทำให้ถึงแม้ว่าจะไม่ชอบเท่าไร
สงสัยว่าลูกจะเป็นตุ๊ด
         ปัญหาหนักอกของพ่อแม่เมื่อเห็นลูกชายที่เรียบร้อย ดูนุ่มนิ่ม มีลักษณะกระเดียดไปทางผู้หญิง ไม่ชอบความรุนแรง และยิ่งคบแต่เพื่อนผู้ชายด้วยกัน ไม่สนใจในเพศตรงข้าม ทำให้เกิดความสงสัยได้
         รักร่วมเพศ พบได้บ่อยในผู้ชายร้อยละ 10 และพบในผู้หญิงร้อยละ 3-5 ไม่เรียกว่าเป็นความผิดปกติ แต่เมื่อพบแล้วมักจะมีปัญหาการปรับตัว ปัญหาทางอารมณ์ได้สูงเนื่องจากสังคมส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ ทำให้ถูกล้อเลียน ตั้งแง่ รังเกียจ ไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม
         ความรู้สึกชอบเพศเดียวกัน หรือรังเกียจเพศของตัวเอง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมานานตั้แต่วัยเด็กแต่หลายรายที่มาแสดงออกเมื่อเข้าวัยรุ่นและอีกหลายรายที่ไม่แสดงออกให้สังคมทราบ จะมีปัญหาน้อยถ้าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้
สาเหตุของรักร่วมเพศ
  • ความสัมพันธ์ในบ้านไม่ดี เช่น ท่าทีของพ่อแข็งกร้าว น่ากลัว ดุ หรือเหินห่าง ไม่มีบทบาทในบ้าน ปล่อยให้แม่เป็นใหญ่ จัดการทุกอย่างในบ้าน
  • อยู่ท่ามกลางผู้หญิง หรือ ถูกเลี้ยงดูให้เรียบร้อย ไม่ชอบความสกปรกและความรุนแรง ส่งเสริมการเล่นที่ไม่โลดโผนและไม่ใช้แรง
  • อยู่ในภาวะเสี่ยง ขาดการดูแลใกล้ชิด มีปัญหาในการเข้ากลุ่มเพื่อน ขาดความรัก หรือถูกหลอกให้มีประสบการณ์รักร่วมเพศมาก่อน
  • ความผิดปกติในระบบของร่างกาย
จะให้ทำอย่างไร
  • ป้องกัน ป้องกันปัญหาการเลี้ยงผิดเพศตั้งแต่เล็ก โดยเลี้ยงให้ถูกเพศและปรับปรุงความใกล้ชิดระหว่างพ่อแม่ลูกที่เป็นเพศเดียวกัน เปิดโอกาสให้เลียนแบบพฤติกรรม แนวคิด หลักการ เพิ่มทักษะของเด็กและส่งเสริมการเข้ากลุ่มเพื่อนเพศเดียวกัน เช่น กีฬา ดนตรี การทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น
  • ทำใจ เพราะถ้าเป็นรักร่วมเพศเห็นชัดในวัยรุ่น ก็มักจะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกหรือพฤติกรรมได้ยากแล้ว ดังนั้นก่อนที่คุณจะคิดคุยกับลูกในเรื่องนี้ต้องศึกษาเรื่องรักร่วมเพศกันบ้างจะได้เข้าใจพื้นฐานและปัญหาที่พบในกลุ่มนี้ จะได้ช่วยเหลือลูกได้ถูกทาง
  • พูดกัน การพูดคุย รับฟังเรื่องราวต่างๆที่คุณไม่เคยคาดคิดมาก่อนด้วยความสงบ พูดให้เป็นเรื่องง่ายๆ ธรรมดาๆจะช่วยทำให้วัยรุ่นมีกำลังใจในการเปิดเผยเรื่องราว ความรู้สึก ความคับแค้น เพื่อที่จะหาทางช่วยเหลือกันต่อไป
  • ยอมรับ ความจริงของลูก และยอมรับความผิดหวังของตัวเอง การตั้งแง่ การไม่ยอมรับ การแสดงความรังเกียจของพ่อแม่ มีแต่จะทำให้ปัญหาบานหลายและไม่เกิดผลดีต่อลูกวัยรุ่นเลย
  • ช่วยเหลือ ฝึกฝนทักษะต่างๆที่ทำให้ลูกปรับตัว ใช้ชีวิตเป็นปกติให้มากที่สุด
อ้างอิง

                Rcpsycht.2556.วิธีแก้ไขความกดดันจากเพื่อน.[ออนไลน์] เข้าถึงhttp://www.rcpsycht.org/cap/book04_20.php สืบค้นเมื่อวันที่28 มิถุนายน 2556


นาย  วรัญชิต   สมิตชาติ  ม.6/3 เลขที่ 8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น