วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ปัญหาจากความกดดัน

www.unigang.com กล่าวถึง การเรียนไม่ดีจากความกดดันและเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ว่า
(1) กดดันในครอบครัว พ่อแม่เป็นไม่สนใจหนังสือหนังหาอยู่แล้ว อยากให้ลูกรีบๆ เรียนให้จบจะได้ออกมาช่วยทำมาหากิน พ่อแม่เองก็ไม่เห็นคุณค่าของการเรียน แล้วลูกจะไปสนใจเรียนได้อย่างไร
(2)ครู ครูส่วนหนึ่งแนวโน้มว่าจะสนใจคนเรียนเก่งมากกว่าเรียนไม่เก่ง เลยยิ่งไม่ได้รับความสนใจจากครู
 (3)เพื่อน เด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มจะทำตามกลุ่ม ถ้าเพื่อนเป็นกลุ่มไม่เรียน ก็ไม่เรียนตามเพื่อนด้วย และ
(4)ปัจจัยในใจตนเอง อย่าง นิสัยเอื่อยเฉื่อย ไม่สนใจอะไรรอบตัว หรือกลัวถูกคาดหวังและความผิดพลาด จากวันหนึ่งที่เรียนเก่งแต่จู่ๆ ก็กลัวพลาด กลัวพ่อแม่จะว่า กดดันตัวเองมากจนเป็นปัญหาทางจิตใจและส่งผลต่อการเรียนในที่สุด

ยิ่งถ้าเป็นเด็กอัจฉริยะ อาจรำคาญใจที่มาเรียนในชั้นที่ไม่ใช่ระดับความสามารถตนเอง อย่างอายุจริงเท่า ม.1 สมองเท่าม.4 แต่เรียนม.2 ตัวเองก็เบื่อ เลยพาลไม่ตั้งใจเรียนไปซะเลย มีงานก็ไม่ส่ง ครูสอนก็ไม่ฟัง อาจไม่มาสอบด้วยซ้ำ เลยทำให้ไม่มีคะแนนและผลการเรียนก็ออกมาไม่ดี หรืออาจเข้ากับเพื่อนต่างวัยไม่ได้ เป็นต้น รวมๆ แล้วสาเหตุที่จะทำให้เกิดลักษณะอาการของโรคนี้เองก็ยังคาบเกี่ยวกับสาเหตุของโรคอีกหลายๆ โรคเลยค่ะ

 ลักษณะอาการแบบนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดง่ายๆ นะคะ ส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นปัจจัยที่เกิดจากความกดดันคะ เรียกว่า เป็นอาการที่เกิดจากจิตใจมากกว่าพฤติกรรม ดังนั้น ถ้าใครขี้เกียจเฉยๆ เกียจคร้านไปตามเรื่องตามราวด้วยตนเอง ก็ไม่ได้เป็นโรคนี้นะ แล้วโดยส่วนมากแล้วจะมีแนวโน้มว่าจะเกิดกับเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิชาการ กลุ่ม Gifted มากกว่าเด็กทั่วไปค่ะ แล้วอาจถูกวินิจฉัยร่วมกับอาการสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ หรือปัญหาทางอารมณ์และสังคมก็ได้ แต่ต้องสังเกตและพิจารณาควบคู่ไปกับพฤติกรรมที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย คือ เคยมีผลการเรียนดีอยู่ แล้วค่อยๆ ผลการเรียนต่ำลงเรื่อยๆ ทั้งที่ดูไม่มีปัญหาอะไรเป็นเกรดพรวดพราด เป็นครั้งคราว แล้วกลับมาเกรดเท่าเดิมก็ไม่ใช่ค่ะ
อ้างอิง
Unigang.2556.ปัญหาความกดดันและการเข้ากับเพื่อนไม่ได้.[ออนไลน์] เข้าถึง http://www.unigang.com/Article/9639 สืบค้นเมื่อวันที่14 มิถุนายน 2556



นาย วรัญชิต   สมิตชาติ ม.6/3 เลขที่ 8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น