วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ปัญหาการเรียนจากการไม่มีเพื่อน

www.rcpsycht.org
ไม่มีเพื่อน
         เพื่อนมีความหมายสำหรับวัยรุ่นอย่างยิ่ง ใครที่มีเพื่อนน้อยหรือไม่มีคนคบจะเป็นวัยรุ่นที่มีปมด้อยมาก
สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นมีปัญหากับเพื่อน มักเกิดจากพื้นฐานไม่ดีมาก่อน เช่น
         1. ปรับตัวยาก เอาแต่ใจ ไม่เข้าใจจิตใจคนอื่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางความคิด
         2. ขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก กลัวทำผิด กลัวคนอื่นว่า มักจะมีทักษะในด้านต่างๆไม่มาก
         3. เรียนไม่เก่ง
         4. ด้อยโอกาส ขาดคนรัก ขาดคนสนใจ ถูกละทิ้ง หรือถูกทำร้าย ขาดคนดูแลสั่งสอน
         5. มีปัญหาทางอารมณ์ ซึมเศร้า วิตกกังวล
         6. มีปัญหาที่บ้าน พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อย หรือเข้ากับคนในบ้านไม่ได้ดี
         7. ขาดทักษะการเข้าสังคม เช่น กีฬา ดนตรี การทำกิจกรรม ไม่เข้าใจจิตใจผู้อื่น เป็นต้น

คบเพื่อนไม่ดี
          เด็กที่มีปัญหาก็มักจะคบคนที่มีปัญหาคล้ายๆกัน เรียนไม่เก่งก็จะมีเพื่อนที่เรียนไม่ค่อยสนใจเรียนหนังสือ กลุ่มตุ๊ดก็จะคบกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น บางรายชวนกันหนีเรียน เที่ยวเธค เล่นเกม หรือทำผิดกฎหมายก็มี
         วัยรุ่นที่ขาดคนสนใจ ขาดความอบอุ่นก็จะหันไปหาเพื่อนมากขึ้น ติดเพื่อนและไม่เชื่อฟังพ่อแม่ ต่อต้านเพิ่มขึ้นเพราะรู้สึกเป็นที่ยอมรับจากเพื่อนมากกว่าพ่อแม่
         การที่ได้รู้จักเพื่อนลูก จะช่วยทำให้พ่อแม่ได้เข้าใจมุมมองและประเด็นปัญหาของลูกเราได้ ถึงแม้ว่าลักษณะบางอย่างของเพื่อนลูกจะขัดใจ ขัดตาพ่อแม่บ้าง ขอให้อดทนและยอมรับว่าเขาเป็นเพื่อนของลูกเรา คงต้องมีอะไรที่ดีๆบ้าง การสร้างความใกล้ชิดกับกลุ่มเพื่อนลูก ให้โอกาสทำดี ฝึกฝนทำงาน เท่ากับคุณกลายเป็นผู้พัฒนาวัยรุ่นทั้งกลุ่มให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้โดยง่าย ถ้าเข้ากับพวกเขาได้ อย่าลืมว่าวัยรุ่นยังต้องการผู้ใหญ่อยู่เหมือนกัน ถ้าทนไม่ไหวจริงๆก็ต้อง
         1. คุยกับลูกว่าเพื่อนคนนี้เป็นคนอย่างไร มีข้อดีข้อเสียตรงไหน เพื่อฝึกให้ลูกหัดแยกแยะ และชักจูงให้พิจารณาให้เห็นข้อเสียของพฤติกรรมของเพื่อน ว่าถ้าคบต่อควรระวังตัวอย่างไร
         2. อย่าด่วนไปแจกแจงความไม่ดีของเพื่อนลูกก่อนเพราะจะทำให้เขารู้สึกว่าคุณไม่ชอบเพื่อนเขา ไม่ควรบอกลูกตรงๆว่าเพื่อนลูกคนนี้ไม่ดี แม่ไม่ชอบ ไม่ให้คบกัน เพราะจะทำให้เกิดการต่อต้าน หรือทำในทิศทางตรงข้าม คือ แอบไปหากัน ยกเว้นว่าคุณให้เวลากับเพื่อนลูกมากพอและลูกคุณก็เห็นปัญหาที่เพื่อนจะทำให้เขาเสียหายเหมือนกัน
         3. ช่วยกันหาทางป้องกันปัญหาและแก้ไขปัญหากับลูก เท่ากับช่วยฝึกให้ลูกเรียนรู้จักคนเพิ่มขึ้น
         4. เป็นที่ปรึกษา เพราะเวลาที่ลูกคบกับเพื่อนคนนี้ก็อาจเกิดปัญหาขึ้นเป็นระยะ รับฟังความรู้สึก ฟังความคิดเห็น ให้วัยรุ่นมีโอกาสคิดแก้ไขหาทางออก มากกว่าจะคิดแทน เพราะวัยรุ่นยังขาดประสบการณ์และความมั่นใจในการแก้ปัญหา การปรับตัวในทางเข้าสังคม
         5. วางขอบเขตในการคบเพื่อนที่พอเหมาะ ถึงแม้ว่าวัยรุ่นต้องการความอิสระก็ตามแต่ต้องอยู่ในความเหมาะสมควบคู่กัน เช่น ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่รบกวนการเรียนซึ่งเป็นหน้าที่หลัก ไม่อันตรายต่อจนเองและผู้อื่น อยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ทางสังคมและกฎหมาย ไม่รบกวนหรือทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน เป็นต้น และถ้าเกินเลย จำเป็นต้องพูดคุยและรักษาขอบเขตให้ชัดเจนเสมอ จะง่ายถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ชอบแกล้งน้อง
         การส่งเสริมให้พี่น้องเกื้อกูล เอื้ออาทรต่อกัน เข้าใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเป็นรากฐานที่ดีในการอยู่ในสังคมปัจจุบัน จากประสบการณ์ที่เคยดูแลเด็กเล็กมาก่อนโดยอาศัยการช่วยชี้แนะจากพ่อแม่ จะช่วยให้พี่มีทักษะในการดูแลเด็ก ระมัดระวังอันตราย คอยปกป้องอันตรายแต่ก็ต้องช่วยฝึกสอนน้องให้เก่งขึ้น จิตใจอ่อนโยน เป็นที่เคารพของน้องๆต่อไป ขณะเดียวกันพี่เองก็รู้สึกภูมิใจที่ทำหน้าที่แทนพ่อแม่ได้ มั่นใจและเกิดเป็นความรักความผูกพันกับคนในครอบครัว

อ้างอิงRcpsycht.2556.ความกดดันจากเพื่อน.[ออนไลน์ ] เข้าถึง  http://www.rcpsycht.org/cap/book04_20.php สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556.
นาย วรัญชิต   สมิตชาติ ม.6/3 เลขที่ 8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น