วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ความอ่อนเพลีย

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์  กล่าวถึง ความอ่อนเพลีย ว่า

เหนื่อยล้า อ่อนล้า ล้า หรือ อ่อนเพลีย (Fatigue) เป็นอาการ หรือความรู้สึก ไม่ใช่เป็นโรค มักพบเกิดหลังพักผ่อนไม่เพียงพอ อดนอน ทำงานหนักต่อเนื่อง และ/หรือมีปัญหาทางอารมณ์/จิตใจ

เหนื่อยล้าเป็นอาการพบบ่อยอาการหนึ่ง พบได้ทั้งในเด็ก (มีรายงานพบเกิดได้ในเด็กตั้งแต่อายุ 5 ปี) ไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบได้บ่อยขึ้นเมื่อยิ่งสูงอายุ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้ใกล้เคียงกัน

แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุอาการเหนื่อยล้าอย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุอาการเหนื่อยล้าได้จาก ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติการใช้ยาต่างๆ ประวัติปัญหาในชีวิต/ครอบครัว การตรวจร่างกาย การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆตามความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และตามดุลพินิจของแพทย์ เช่น ตรวจเลือดซีบีซี (CBC) ดูภาวะซีด ตรวจเลือดดูค่าน้ำตาลในเลือดเมื่อสงสัยโรคเบาหวาน ตรวจเลือดดูค่าการทำงานของตับ ไต เมื่อสงสัยโรคของตับ หรือของไต เป็นต้น อาจตรวจเอกซเรย์ปอด และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อสงสัยโรคหัวใจ หรือตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เมื่อพบก้อนเนื้อผิด ปกติและสงสัยโรคมะเร็ง เป็นต้น
รักษาอาการเหนื่อยล้าอย่างไร?
แนวทางการรักษาอาการเหนื่อยล้าปกติจากการใช้ชีวิตประจำวัน คือ การพักผ่อน และการนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนในทุกๆวัน ออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพ
แนวทางการรักษาอาการเหนื่อยล้าทุติยภูมิ คือ การดูแลรักษา ควบคุมสาเหตุ เช่น การดู แลรักษาควบคุม โรคเบาหวาน หรือภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น
แนวทางการรักษาอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง คือ การรักษาประคับประคองตาอาการเนื่อง จากไม่ทราบสาเหตุ เช่น การให้ยากระตุ้นให้ตื่นตัว การให้ยานอนหลับ การให้ยาแก้ปวด การให้ยารักษาอาการซึมเศร้า การให้ฮอร์โมนบางชนิด การกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ ครบในทุกๆวัน การออกกำลังกายพอควรกับสุขภาพ การเลิกบุหรี่ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการจำกัดเครื่องดื่มกาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ โคล่า เครื่องดื่มชูกำลัง) 

อ้างอิง
                พัฒนกิจ ดอทคอม.2556.ความต้องการความสุขสบาย. [ออนไลน์] เข้าถึง www.pattanakit.net สืบค้นเมื่อ       14 มิถุนายน 2556.

นายภาณุพงศ์  วิชชุเตวส เลขที่ 2 ม.6/3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น